วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

3nd learning record



Date: 16 August 2019

    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ ไม่ว่าจะเป็น
  • แสง
  • เสียง
  • ดิน หิน ทราย
  • เครื่องกล 
  • อากาศ
    โดยกลุ่มของหนูได้เรื่อง "เสียง" และนี่คือข้อมูลที่สมาชิกกลุ่มทุกคนช่วยกันค้นหาค่ะ

ที่มาและแหล่งกำเนิด 
    เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 
เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คุณสมบัติของเสียง
    เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
 ประโยชน์ของเสียง
  • ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน
  • ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
  • ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ
ข้อจำกัดหรือโทษ
  • การสูญเสียการได้ยิน มี ลักษณะ คือ
  1. การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
  2. การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
  • ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
  1. เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
  2. รบกวนการนอนหลับ
  3. ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
  4. ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  5. เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

Vocabulary

Disadvantage          ข้อเสีย
Air          อากาศ
Rock          หิน
Light           แสง
Sound          เสียง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Science teaching teachniques

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้ทำก่อนสอบ เพื่อทำความเข้าใจค่ะ ถือว่าเป็นการจดจำที่ดีเลยค่ะ เพราะ ในห้องสอบหนูสามารถทำข้อสอบได้...