หน้าเว็บ

STUDENT LIST 102

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Article



เรื่อง: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

โดย: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สรุปบทความ: เด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็นและมักจะตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ เด็กปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จะได้มีโอกาสพัฒนา และ ประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา (2551) นำเสนอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูและผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
  1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทารกจะใช้สายตาสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆอย่างสนใจ หรือ อาจจะหยิบสิ่งต่างๆรอบตัวมาบีบ กัด ดมเล่น ซึ่งทุกครั้งที่มีโอกาสกระทำเช่นนั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ นำไปสู่ การพัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
  2. ทักษะการจำแนกประเภท เป็นทักษะการแบ่งกลุ่มโดยมีเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 
  3. ทักษะการทำนาย เป็นทักษะการคาดคะเนคำตอบก่อนจะพิสูจน์ด้วยการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ความรู้เดิมมาช่วยทำนาย
  4. ทักษะการวัด เป็นการเลือกใช้เครื่องมือ วัดหาปริมาณ น้ำหนัก ความสูง ความยาว ของสิ่งต่างๆ โดยในระดับปฐมวัย อาจจะใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐาน เช่น ใช้คืบมือ ใช้คลิปมาต่อกัน เป็นต้น
  5. ทักษะการคำนวณ ซึ่งหมายถึงการนับจำนวนของวัตถุ และ นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน 
  6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำใหม่ และ นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
  7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
  8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย

    การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนควรจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง เช่น พาเด็กๆไปทัศนศึกษา หาสื่ออุปกรณ์ของจริงที่เด็กได้หยิบ จับ ทดลองกระทำกับวัตถุสิ่งของจริง โดยประสบการณ์ที่จัดให้แก่เด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็ก เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้ เคยพบเห็น และ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในอนาคต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น