หน้าเว็บ

STUDENT LIST 102

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

National Science and Technology Fair 2019



วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไป ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
นั่นก็คืองานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16-25 สิงหาคม พ.ศ.2562

🌍 นิทรรศการ ภารกิจพิชิตดวงจันทร์ (Mission to the Moon)
    ร่วมเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์ที่สำคัญของมนุษย์ในการพิชิตจุดหมายที่หลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ พบเรื่องราวความมหัศจรรย์แห่งดวงจันทร์ จุดเริ่มต้นของความฝันและแรงขับเคลื่อนการเดินทางสู่อวกาศ สัมผัสประสบการณ์การเตรียมความพร้อมของนักบินอวกาศ ตื่นตาตื่นใจไปกับนาทีประวัติศาสตร์เมื่อ นีล อาร์มสตรอง ประทับรอยเท้าลงบนดวงจันทร์
  • 4D Projection Mapping ตามรอยนาทีประวัติศาสตร์โลก กับการประทับรอยเท้ามนุษย์บนดวงจันทร์
  • สัมผัสประสบการณ์ MOON WALK ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ



🌍 นิทรรศการต่างประเทศ LEGO Space Challenge Land
   พบกับ LEGO ตัวต่อรูปเหลี่ยมที่ทุกคนคุ้นเคย กับการคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์จินตนาการในรูปแบบใหม่เต็มรูปแบบที่แรกในประเทศไทย สิ่งประดิษฐ์จากเลโก้ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ฝึกทักษะได้ในทุกช่วงวัย
  • พบกับการเปิดตัวแบบ SPIKE ™ Prime ด้าน STEAM Education เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • เล่น เรียน รู้ ไปกับ Perspective City Mars Exploration จาก LEGO Group, Denmark



🌍 นิทรรศการ Maker Space : ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์ พลิกความคิดสู่อนาคต (Everyone can be an Engineer)
    พื้นที่สำหรับการเล่น เรียน รู้ ลงมือทำ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์แบบง่ายๆ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ท่องประวัติศาสตร์ไปในอดีตของสิ่งประดิษฐ์ที่มมนุษย์สร้างขึ้นและทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป เรียนรู้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งทุกคนสามารถเป็นนักประดิษฐ์ เรียนรู้วิวัฒนาการสู่อนาคต
  • ห้องครัวนักประดิษฐ์ ย้อนไปในอดีตของสิ่งประดิษฐ์ เรียนรู้วิวัฒนาการสู่อนาคต
  • แก้ปัญหา ตอบโจทย์ ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุแบบง่าย เพื่อฝึกทักษะเป็นวิศวกร



🌍 นิทรรศการ ข้าว คือ ชีวิต (Rice is Life)
    "ข้าว (Rice)" อาหารหลักใกล้ตัวที่สุดของคนไทย แถบเอเชีย และในอีกหลายเขตภูมิภาคของโลก ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ของข้าวที่ทานกันเป็นประจำและชนิดของข้าวที่อาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน เรียนรู้ความสำคัญของข้าวในหลากหลายมิติ
  • ชมบรรยากาศท้องทุ่ง แปลงนาข้าว และสัมผัสต้นข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกจนเป็นต้นกล้า
  • ถ่ายรูปกับหุ่นไล่กา จำลองวิถีการทำนา ไถนา หว่านข้าว ผ่านชิ้นงานแบบสื่อสัมผัส ลงมือทำด้วยตัวเอง
  • ชิมอาหารที่ทำจากข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว



วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Article



เรื่อง: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

โดย: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สรุปบทความ: เด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็นและมักจะตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ เด็กปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จะได้มีโอกาสพัฒนา และ ประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา (2551) นำเสนอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูและผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
  1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทารกจะใช้สายตาสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆอย่างสนใจ หรือ อาจจะหยิบสิ่งต่างๆรอบตัวมาบีบ กัด ดมเล่น ซึ่งทุกครั้งที่มีโอกาสกระทำเช่นนั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ นำไปสู่ การพัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
  2. ทักษะการจำแนกประเภท เป็นทักษะการแบ่งกลุ่มโดยมีเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 
  3. ทักษะการทำนาย เป็นทักษะการคาดคะเนคำตอบก่อนจะพิสูจน์ด้วยการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ความรู้เดิมมาช่วยทำนาย
  4. ทักษะการวัด เป็นการเลือกใช้เครื่องมือ วัดหาปริมาณ น้ำหนัก ความสูง ความยาว ของสิ่งต่างๆ โดยในระดับปฐมวัย อาจจะใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐาน เช่น ใช้คืบมือ ใช้คลิปมาต่อกัน เป็นต้น
  5. ทักษะการคำนวณ ซึ่งหมายถึงการนับจำนวนของวัตถุ และ นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน 
  6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำใหม่ และ นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
  7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
  8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย

    การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนควรจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง เช่น พาเด็กๆไปทัศนศึกษา หาสื่ออุปกรณ์ของจริงที่เด็กได้หยิบ จับ ทดลองกระทำกับวัตถุสิ่งของจริง โดยประสบการณ์ที่จัดให้แก่เด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็ก เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้ เคยพบเห็น และ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในอนาคต


Research



เรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

โดย: ยุพาภรณ์ ชูสาย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ขอบเขตการวิจัย: เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สุ่มมา 1 ห้องเรียน จาก 6 ห้องเรียน ด้วยการจับสลาก จากนั้นจับฉลากเด็กนักเรียนมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง 15 คน จากจำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย:
  1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมี ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจําแนกรายทักษะ หลังการใช้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างอยู่มีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจําแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้ง โดยรวมและรายทักษะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3nd learning record



Date: 16 August 2019

    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ ไม่ว่าจะเป็น
  • แสง
  • เสียง
  • ดิน หิน ทราย
  • เครื่องกล 
  • อากาศ
    โดยกลุ่มของหนูได้เรื่อง "เสียง" และนี่คือข้อมูลที่สมาชิกกลุ่มทุกคนช่วยกันค้นหาค่ะ

ที่มาและแหล่งกำเนิด 
    เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 
เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คุณสมบัติของเสียง
    เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
 ประโยชน์ของเสียง
  • ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน
  • ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
  • ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ
ข้อจำกัดหรือโทษ
  • การสูญเสียการได้ยิน มี ลักษณะ คือ
  1. การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
  2. การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
  • ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
  1. เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
  2. รบกวนการนอนหลับ
  3. ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
  4. ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  5. เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

Vocabulary

Disadvantage          ข้อเสีย
Air          อากาศ
Rock          หิน
Light           แสง
Sound          เสียง


2nd learning record



Date : 14 August 2019

วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่อง สมอง ว่าเด็กปฐมวัยต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง
พวกเขาจึงเหมาะสมกับการพัฒนาสมองแบบการใช้เทคนิทคในรูปแบบต่างๆ  เช่น การใช้ท่าทางต่างๆ ใช้เนื้อเพลงเป็นสื่อในการสอน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

    กิจจกรรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มตอบคำว่า "วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรียนเรื่องอะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง" โดยกลุ่มของดิฉันตอบได้ ดังนี้

Answer เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว การเรียนรู้สิ่งต่างๆจากธรรมชาติ เช่น การรู้จักสีของรุ้งกินน้ำที่มีสีต่างๆ การทำการทดลองการให้เด็กลงมือปฎิบัติ คิดอย่างมีเหตุผล

สรุปหลังจากได้เรียนคาบนี้ การจัดประสบการณ์ให้เด็กได่เรียนรู้ทฤษฎ๊เพียเจท์ นามธรรมกับรูปธรรม
การเรียนรู้ของสมองประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และผิวสัมผัส วิธีการให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ขั้นอนุรักษ์ สมองทำงาน หูรับฟัง อาศัยสิ่งต่างๆเกิดความสนุกสนาน เช่น ธรรมชาติรอบตัว การร้องเพลง ลงมือทำเพื่อฝึกการทำงานของสมอง การให้เหตุผลกับสิ่งต่างๆรอบตัว ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ 


Vocabulary

Brain          สมอง
Sense          ประสาทสัมผัส
Rainbow           รุ้งกินน้ำ
Abstract          นามธรรม
Concrete          รูปธรรม



วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

1st learning record



Date: 7 August 2019

สวัสดีค่ะ นี่คือ Blog แรกของวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
โดยมีอาจารย์จินตนา สุขสำราญ หรืออาจารย์จ๋า เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้
การปฐมนิเทศในการเรียนการสอนนี้ครั้งนี้ อาจารย์ก็พูดถึงเรื่อง Blog ก่อนเลย

    โดยอาจารย์ให้การเรียนในรายวิชานี้ เป็นการเรียนการสอนในยุค 4.0 โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ในการเรียนการสอน ดังนั้น Blog ในวิชานี้ส่วนใหญ่จึงเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีส่วนต่างๆประกอบ ดังนี้
  • ข้อมูลนักศึกษา อาจารย์ เว็บไซต์มหาลัย คณะ และสาขาวิชา
  • ปฎิทิน/เวลา มคอ. สื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • รายชื่อเพื่อนในห้องเรียน
  • คำศัพท์ 5 คำทุก Blog

Vocabulary

Orientation          ปฐมนิเทศ
Innovation          นวัตกรรม
Technology          เทคโนโลยี
Learning and Teaching          การเรียรการสอน